กระชาย
เหง้ากระชายใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง บางอย่าง ส่วนใหญ่เป็นแกงที่ใช้ปลา เช่นน้ำยาปลา แกงส้ม เนื่องจากกลิ่นรสที่เผ็ดร้อนและขมของกระชายจะช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ดี จึงนิยมใส่ในอาหารที่มีปลาเป็นส่วนประกอบหลัก เช่นผัดเผ็ดปลาดุก แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย เป็นต้น
ประโยชน์
- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- แก้ใช้ ลดการอักเสบ
- ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย
- สาร Cardamonin ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง
กระเทียม
กระเทียม เป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารไทย ผัดผักทุกจานต้องทุบกระเทียมลงไปเจียวให้หอมก่อนใส่เนื้อสัตว์และผัก กระเทียมเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ในน้ำพริกแกง น้ำพริกทุกชนิด อาหารจานยำก็ต้องใช้กระเทียมเป็นส่วนประกอบสำคัญเช่นกัน หรือนำหัวกระเทียมมาดอง ต้นกระเทียมก็สามารถนำมาผัดและต้ม และใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าเพื่อแต่งกลิ่นอาหาร
ประโยชน์
- ช่วยขับลม แก้จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความดันโลหิต ลดสารไฟบริโนเจน
- อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ ไวรัส
ข่า
ส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารคือ ดองและเหง้าทั้งแก่และอ่อน โดยเหง้าอ่อนและดอกข่านำมาใช้เป็นผัก เหง้าแก่ซึ่งมีรสชาติเผ็ดร้อน ใช้เป็นเครื่องเทศปรุงรสและแต่งกลิ่นสำหรับน้ำพริก แกงหลายชนิด ผัดเผ็ด แกงไตปลา ในลาบต่างๆ ต้มยำ และต้มอื่นๆ เช่นต้มเครื่องในวัว ใช้เป็นส่วนผสมของลูกแป้งที่ใช้ทำข้าวหมาก เหง้าอ่อนนำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มข่าไก่
ประโยชน์
- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ยีสต์
ตะไคร้
ตะไคร้ มีรสเผ็ดร้อนและขม ใช้เป็นเครื่องแต่กลิ่นรสอาหารไทย เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องแกงเผ็ดทุกชนิด เช่น น้ำพริกแกงเผ็ด แกงส้ม เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำยา ข้าวยำปักษ์ใต้ น้ำพริกอ่อง แกงไตปลา น้ำพริกตะไคร้ เป็นต้น ใช้สดในอาหารจารพล่ายำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญในต้มยำ
ประโยชน์
- ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์
- ขับปัสสาวะ
พริก
พริกที่นิยมนำมาใช้ในอาหารไทย ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้าแดงและเขียว พริกเหลือง พริกหนุ่ม และพริกหยวก ซึ่งพริกแต่ละชนิดมีความเผ็ดมากน้อยแตกต่างกัน สามารถใช้ได้ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง พริกป่น หรือนำมาดองกับน้ำส้ม พริกเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำพริกแกง น้ำพริกต่างๆ อาหารจานยำ พล่า ต้มยำ ใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเผ็ดตามต้องการในอาหารไทยทุกประเภท พริกบางชนิดนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวของอาหาร เช่นการใช้พริกขี้หนูแห้งคั่วในลาบเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ หรือใช้ปรุงแต่งให้อาหารมีสีสันสวยงามมากขึ้น
ประโยชน์
- ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้เจริญอาหาร ถ้ากินในปริมาณไม่มากช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- สารแคปไซซินช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งและอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ช่วยขับลม ขับเสมหะ
- แก้อาเจียน แก้ปวดเมื่อย
พริกไทย
พริกไทยเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงทุกชนิด ใส่แกงจืดโดยตำร่วมกับรากผักชีและกระเทียมโรยอาหารประเภทผัดผักให้หอม คนไทยใช้พริกไทยสดในการประกอบอาหาร เช่น แกงเผ็ด แกงป่า ผัดเผ็ด
ประโยชน์
- ใช้ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
- ช่วยระงับอาการปวดท้อง จุกเสียด
- ช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยได้มากขึ้น
ขมิ้น
มาดูสรรพคุณทางยาของขมิ้นชันกัน ส่วนที่ใช้ก็คือ "เหง้า" ที่มีรสฝาดนั่นเอง โดยเหง้ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ ช่วยบำรุงตับ นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และเกลือแร่ต่าง ๆ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น